Micro teaching
Task
based คือการจัดการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากการปฏิบัติภาระงาน
และใช้ความรู้เพื่อปฏิบัติภาระงานที่ได้รับมอบหมายให้สำเร็จ เป็นการออกแบบการเรียนรู้ที่มีกระบวนการพัฒนาผู้เรียนไปสู่มาตรฐานตัวชี้วัดค่อนข้างชัดเจน
โดยยึดเอาผลลัพธ์สุดท้ายที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับผู้เรียนตามมาตรฐานตัวชี้วัดเป็นตัวตั้ง
ขั้นแรกต้องวิเคราะห์มาตรฐานตัวชี้วัดก่อนเพื่อกำหนดเป็นเป้าหมายของการจัดการเรียนรู้
แล้วจึงกำหนดชิ้นงานที่ต้องการให้นักเรียนปฏิบัติ พร้อมทั้งกำหนดเกณฑ์
ในการประเมินผลงาน แล้วจึงกำหนดกิจกรรมการเรียนการสอนให้สอดคล้องกันตามลำดับ ผู้สอนเป็นต้องหารูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่จะพัฒนาให้ผู้เรียนได้ฝึกฝนการเรียนรู้ด้วยตนเอง
อันจะเป็นแนวทางในการพัฒนาผู้เรียนให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้
เป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิต เรียนรู้ได้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก
ซึ่งรูปแบบการจัดการเรียนรู้ Task Based Learning (TBL) : การจัดการเรียนรู้โดยการสร้างสรรค์ผลงาน
นับเป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่มีขั้นตอนให้ผู้เรียนได้ฝึกฝนการเรียนรู้ด้วยตนเอง ได้เรียนรู้ทั้งความรู้
ทักษะ คุณธรรมการอยู่ร่วมกันในสังคม
ซึ่งสอดคล้องกับความจำเป็นและความต้องการของสังคมปัจจุบัน
การออกแบบการเรียนการสอนโดยใช้ Task based และเนื้อหาที่ออกแบบจะต้องสอดคล้องกับจิตสาธารณะของนักศึกษาหลักสูตรภาษาอังกฤษในภาคเรียนนี้
นักศึกษาบางคนวางแผนการจัดการเรียนรู้ได้ดี
แต่ส่วนมากยังไม่สามารถตั้งวัตถุประสงค์ให้สอดคล้องกับตัวชี้วัดและมาตรฐานการเรียนรู้ได้
และเนื้อหาที่นำมาสอนก็ไม่ได้ค่อยสอดคล้องกับเรื่องจิตสาธารณะ
นักศึกษาบางคนไม่มีสื่อการสอนที่เพียงพอต่อการสอน ต่อการเข้าใจของผู้เรื่อง
ซึ่งสื่อการสอนเป็นสิ่งที่สำคัญในลำดับต้นๆของการจัดการเรียนการสอน
ส่วนปัญหาที่พบมากที่สุดคือ การคัดลอกเกณฑ์ Rubric มาจากอินเตอร์เน็ต
โดยไม่ได้นำมาปรับ และประยุกต์ให้เหมาะสมกับการจัดการเรียนการสอนของตนเอง
ซึ่งการกระทำดังกล่าว ทำให้ไม่สามารถวัดผลในสิ่งที่ต้องการวัดได้
จากที่กล่าวมาข้างต้นนั้น
สามารถสรุปได้ว่า การกำหนดหลักสูตรหรือตัวชี้วัดที่ดี
ก็จะเป็นเสมือนถนนที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ ทั้งนี้ทั้งนั้น ครูผู้สอนจะต้องคอยติดตามกระตุ้น
ตลอดจนช่วยเหลือ ให้กำลังใจอย่างใกล้ชิด นอกจากนี้ยังต้องจัดเตรียมให้ผู้เรียนรับรู้และตระหนักถึงหน้าที่รับผิดชอบในการเรียนรู้
และการสร้างสรรค์ชิ้นงานด้วยตนเอง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น